ศูนย์รวมสินค้าที่ตอบโจทย์ร้านค้า ช่วยในการจัดเก็บและขนย้ายได้อย่างสะดวก

เข้าสู่ระบบ สมัครใหม่

การจัดเก็บสารเคมีในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย

สวัสดีค่ะ วันนี้แพ็คสโตร์ขอมาแชร์ความรู้เกี่ยวกับ การจัดเก็บสารเคมีในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้เกิดความปลอดภัย เพราะนับเป็นสิ่งที่สำคัญมากในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมี
การจัดเก็บสารเคมี คือ กระบวนการที่ต้องนำสารเคมีที่มีความเป็นอันตรายในรูปแบบต่างๆ เช่น ไวไฟ เป็นพิษ ว่องไวในการเกิดปฏิกิริยา เป็นต้น มาจัดเก็บไว้ในพื้นที่และสภาพแวดล้อมที่มีความเหมาะสมภายใต้กรอบระยะเวลา (สารเคมีส่วนใหญ่มักจะถูกจัดเก็บยาวนานเป็นปี) การจัดเก็บสารเคมีอย่างไม่ถูกต้อง เช่น การจัดเก็บสารเคมีโดยจัดเรียงตามลำดับตัวอักษร การจัดเก็บสารเคมีโดยแยกตามสถานะ การจัดเก็บสารเคมีโดยไม่มีเกณฑ์ที่เชื่อถือได้ใดๆ ใช้ในการอ้างอิง การจัดเก็บสารเคมีในสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย ล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุต่างๆ ตามมา เช่น การเกิดไฟไหม้ การระเบิด สารเคมีรั่วไหล เป็นต้น ส่งผลให้เกิดความเสียหายทั้งแบบทางตรงและทางอ้อม เช่น การบาดเจ็บ การสูญเสียเวลา การสูญเสียทรัพย์สิน การเสียชีวิต รวมทั้งภาพลักษณ์ขององค์กรได้

การจัดเก็บของเหลวไวไฟและของเหลวติดไฟ

  • เก็บให้ห่างจากสารออกซิไดซ์ เช่น กรดไนตริก กรดโครมิก เปอร์มังกาเนต คลอเรต เปอร์คลอเรต และเปอร์ออกไซด์ เป็นต้น
  • เก็บให้ห่างจากความร้อน และแหล่งก่อให้เกิดประกายไฟ
  • ควบคุมปริมาณของของเหลวไวไฟและของเหลวติดไฟในการจัดเก็บ
  • ถ้ามีสารไวไฟและสารติดไฟในปริมาณมาก ควรเก็บไว้ในตู้เก็บสารไวไฟโดยเฉพาะ
  • เก็บตัวทำละลายที่มีจุดเดือดต่ำในที่มีการถ่ายเทอากาศที่ดี ไม่ควรให้โดนแสงแดดโดยตรง

การจัดเก็บสารที่ว่องไวในการเกิดปฏิกิริยาการจัดเก็บสารที่ว่องไวในการเกิดปฏิกิริยา
(เช่น สารระเบิดได้ สารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง สารให้ก๊าซไวไฟเมื่อสัมผัสกับน้ำ สารออกซิไดซ์และสารรีดิวซ์ที่มีความรุนแรง เป็นต้น

  • การจัดเก็บสารที่ว่องไวในการปฏิกิริยา ตามข้อแนะนำในเอกสารข้อมูลความปลอดภัยของสาร
  • จัดเก็บสารในปริมาณน้อย
  • จัดเก็บสารออกซิไดซ์ แยกออกจากสารรีดิวซ์ สารไวไฟและสารติดไฟ
  • จัดเก็บสารรีดิวซ์ที่รุนแรง แยกออกจากสารที่ถูกรีดิวซ์ได้ง่าย
  • จัดเก็บสารที่มีความเสี่ยงต่อการลุกไหม้ได้เอง แยกออกจากสารไวไฟ
  • เก็บสารที่ให้ก๊าซไวไฟเมื่อสัมผัสกับน้ำ ให้ห่างจากระบบดับเพลิงแบบสปริงเกลอร์ หรือแหล่งน้ำต่างๆ

การจัดเก็บสารกัดกร่อน

  • จัดเก็บสารกัดกร่อนประเภทกรดแยกออกจากเบส
  • ควรจัดเก็บสารกัดกร่อนในตู้เก็บสารกัดกร่อนโดยเฉพาะ
  • ไม่เก็บสารกัดกร่อนไวในตู้ที่ทำจากโลหะ
  • จัดเก็บกรดที่เข้ากันไม่ได้แยกออกจากกัน เช่น จัดเก็บกรดอนินทรีย์ที่มีสมบัติออกซิไดซ์ (Oxidizing inorganic acid) แยกออกจากกรดอนินทรีย์ที่ไม่มีสมบัติออกซิไดซ์ (Non-oxidizing inorganic acid) ตัวอย่างเช่น การแยกกรดไนตริกออกจากกรดไฮโดรคลอริก
  • จัดเก็บกรดอินทรีย์ไว้รวมกับสารไวไฟและสารติดไฟ

นอกจากนี้ ควรมีการจัดทำสารบบสารเคมี (Chemical inventory) เพื่อสามารถบริหารจัดการข้อมูลสารเคมีรวมทั้งการใช้งานสารเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหมั่นปรับข้อมูลของสารบบสารเคมีให้มีความเป็นปัจจุบันอยู่เป็นประจำ ตัวอย่างของข้อมูลที่ควรบันทึกลงในสารบบสารเคมี ได้แก่

  • ชื่อสารเคมี
  • หมายเลข CAS ของสารเคมี
  • ประเภทความเป็นอันตราย
  • ปริมาณของสารเคมี
  • ภาชนะบรรจุสารเคมี
  • สถานที่จัดเก็บ
  • วันที่รับสารเคมี
  • วันที่หมดอายุ
  • วันที่เปิดใช้งานสารเคมี
  • ราคา
  • ผู้รับผิดชอบ เป็นต้น

 ขอบคุณข้อมูลจากเว็บไซต์ สสปท 


และวันนี้แพ็คสโตร์ ยังมีวิธีการเก็บที่แยกสารเคมีต่างๆตามประเภทที่แตกต่างกัน สามารถจัดเก็บได้ง่าย และมีความปลอดภัยอีกด้วย นั่นก็คือ ตู้จัดเก็บสารเคมี แยกเป็นประเภท

              

สะดวก ปลอดภัย และได้มาตรฐานด้วยนะทุกคน

สอบถามเพิ่มเติม และสั่งซื้อสินค้า
Tel : 02-501-6300 จันทร์-ศุกร์ (เวลา 8:30-17:30)
Line : คลิก